การขึ้นเอ็นไม้แบดมินตันที่ถูกวิธี ช่วยให้ใช้งานไม้แบดมินตันได้เต็มประสิทธิภาพและช่วยถนอมไม้แบดมินตันของเราให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้นอีกด้วย
1. เมื่อไหร่ถึงควรเปลี่ยนเอ็น หรือขึ้นเอ็นใหม่
Ans : ขึ้นอยู่กับการใช้งานของผู้เล่น ว่าใช้งานบ่อยแค่ไหน (ตีไม่บ่อยอาจจะอยู่ช่วง 5-12 เดือน) โดยสังเกตว่า เอ็นหย่อน-การสปริงตัวของเอ็น / เอ็นขาด หรือเก่าจนกรอบหรือไม่ หากเข้าลักษณะดั่งกล่าวควรเปลี่ยนใหม่
2. การขึ้นเอ็นไม้แบดมินตัน มีกี่รูปแบบ
Ans : หลักๆจะมีแบบ มัด 2ปม กับ 4ปม และ เว้นโปร-ไม่เว้นโปร
- การขึ้นแบบ 2 ปม และ 4 ปม เป็นลักษณะเทคนิคการขึ้นเอ็นของแต่ละแบรนด์ ซึ่งแบบ 2 ปม จะเป็นที่นิยมที่สุดเพราะใช้เวลาในการขึ้นน้อยกว่า แต่มีความตึงพอๆกันกับแบบ 4 ปม เนื่องจากใช้เครื่องขึ้นเอ็นสมัยใหม่แบบดิจิตอล
- ส่วนการขึ้นแบบเว้นโปร-ไม่เว้นโปร เป็นการเว้นการขึ้นเอ็นเส้นล่างสุดหรือเส้นถัดไป โดยการขึ้นแบบเว้นโปร จะทำให้เวลาตีมีเสียงกระทบลูกดังกว่าแบบปกติไม่เว้นโปร แต่อายุการใช้งานอาจจะน้อยกว่าแบบปกติ
3. ควรเลือกเส้นเอ็นขนาดเท่าไหร่
Ans : หลักๆเอ็นของ VS (Venson) จะมีขนาด 0.63 – 0.70 mm. โดยแต่ละขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางของเอ็นจะมีลักษณะที่แตกต่างกัน
- รุ่น V3 และ Goddess ขนาดเอ็น 0.63 mm จุดเด่นคือเป็นเอ็นเส้นเล็ก นุ่ม เด้ง สปริงดี ตีง่าย
- รุ่น V5 ขนาดเอ็น 0.65 mm จุดเด่นคือเส้นเอ็นสปริงดี เหมาะสำหรับมือใหม่ หรือ มือเริ่มต้น ขนาดมาตรฐานที่นิยม
- รุ่น BG66 ขนาดเอ็น 0.66 mm จุดเด่นคือเป็นเอ็นที่ให้ความรู้สึกนุ่ม ขนาดมาตรฐานที่นิยม
- รุ่น Kirin ขนาดเอ็น 0.68 mm จุดเด่นคือเป็นเอ็นที่ให้ความรู้สึกที่ดีในการตี เหมาะสำหรับผู้เล่นเกมบุก
- รุ่น BG65 ขนาดเอ็น 0.70 mm จุดเด่นคือเป็นเอ็นเส้นใหญ่ ช่วยยืดอายุการใช้งาน มีความทนทานสูง ให้ความรู้สึกในการตีที่ดี
4. จำนวนปอนด์ที่ควรขึ้นเท่าไหร่
Ans : ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้เล่นและสเปคของไม้แบดมินตัน(รองรับสูงสุดได้เท่าไหร่)
- สูตรที่แนะนำ มือใหม่-เริ่มต้น ขึ้นเอ็น 21-24 ปอนด์ // มือกลาง-ผู้เล่นประจำ 25-28 ปอนด์ // มือโปร-นักกีฬา 28 ปอนด์ขึ้นไป
5. ก่อนการขึ้นเอ็น ควรสังเกตอะไรบ้าง
Ans : ก่อนการขึ้นเอ็น ควรสังเกตที่หัวเฟรมไม้แบดมินตันว่ามีรอยร้าวหรือรอยแตกหรือไม่ หากมีไม่ควรขึ้นเอ็นเพราะจะทำให้ไม้เกิดโอกาสหักได้ และอีกหนึ่งจุดที่ควรสังเกตคือ ตาไก่ (หมุดที่ใช้ร้อยเอ็น) ว่ามีลักษณะพร้อมใช้งาน สภาพโอเคหรือไม่ (ไม่ฉีกขาดจนเกินไป) เพราะหากตาไก่ชำรุด เมื่อขึ้นเอ็นอาจจะทำให้เส้นเอ็นกินเฟรมไม้ ทำให้ไม้เกิดการชำรุดได้